Giffarine by Ongard
ช้อปเมื่อไรก็ได้ พร้อมสิทธิมากมาย
กิฟฟารีน ออนไลน์
ที่นี่...เราเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน
  โทร. 0802033222
  ไลน์ ไอดี: @giffarinevirtual.s

  0 Cart
โรคไต - Kidney Nourish
◉ รู้หรือไม่?!?


◎ ไต เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ช่วยขับของเสียออกจากร่างกายด้วยการผลิตปัสสาวะ ให้มีปริมาณส่วนประกอบและปริมาตรที่เหมาะสม และทำหน้าที่รักษาสมดุลของสารต่าง ๆ ของเหลวและแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกาย นอกจากนั้นไตยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนต่าง ๆ ด้วย เช่น กระตุ้นวิตามินดี (vitamin D) ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอิทิน (erythropoietin) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง หากไตเสียหายไป ไม่มีทางทำให้กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมได้ ไตจึงเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมาก เราจึงควรป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต รักษาสุขภาพไตไม่ให้เสื่อมก่อนเวลาอันควร หรือถ้าสังเกตพบอาการในระยะเริ่มต้น ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรักษา จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตให้ช้าลงได้

โรคไต เกิดจาก? อาการและวิธีรักษาโรคไต
โรคไต เกิดจาก?
      ◎ โรคไตนั้นเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากระบบการทำงานของไตผิดปกติ ทำให้ไตไม่สามารถขับของเสีย หรือรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายได้ โรคไตมีสาเหตุหลายอย่างทั้งปัจจัยด้านพันธุกรรม ด้านพฤติกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม เช่นโรคถุงน้ำในไต โรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของไต โรคที่เกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น จากนิ่ว และที่สำคัญคือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด ความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน โรคความดันโลหิตสูง และเกิดโรคเบาหวานตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่พบบ่อยที่สุด โดยในปัจจุบันพบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดไตวายเรื้อรังบ่อยที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และนิ่วในทางเดินปัสสาว สาเหตุของโรคไตที่สำคัญในประเทศไทยอีกสาเหตุหนึ่งคือการกินยาที่มีผลต่อการทำงานของไต โดยมักพบสัมพันธ์กับการกินยาแก้ปวดปริมาณมาก หรือการกินยาสมุนไพรบางชนิด ในผู้ที่เริ่มมีความบกพร่องของไต

อาการและวิธีรักษาโรคไต


◉ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต

      ➢ กรรมพันธุ์ / ครอบครัว : โรคไตบางชนิดเป็นเพราะกรรมพันธุ์ เช่น โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic Kidney Disease) เพราะฉะนั้นคนที่มีพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคนี้เช่นกัน โรคนี้มี 2 แบบ ได้แก่ แบบทารก (Infantile PKD) มักจะเสียชีวิตตั้งแต่เกิด ส่วนแบบผู้ใหญ่ (Adult PKD-APKD) มักพบความผิดปกติเมื่ออายุ 20-30 ปีขึ้นไป ครอบครัวเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง เราพบว่า มีสมาชิกของครอบครัวเดียวกันเป็นโรคไตชนิดเดียวกัน พิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นจากกรรมพันธุ์หรือไม่ อาจเป็นเพราะกินอยู่ในสภาพเดียวกันหรืออุปนิสัยคล้าย ๆ กัน

      ➢ ความดันโลหิตสูง : ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงจะมีผลกระทบต่ออวัยวะที่สำคัญ คือ หัวใจ หลอดเลือด ไต และสมอง คนที่มีความดันโลหิตสูงนาน ๆ จะมีผลทำให้ไตเสื่อมลง แรก ๆ จะมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ นาน ๆ จะทำให้เกิดไตวายจนไปถึงไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ขณะเดียวกัน คนที่เป็นไตวายหรือโรคไตบางชนิดก็ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนี้ยังพบว่าถ้าเกิดความดันโลหิตสูงชนิดร้ายแรง (malignant hypertension) อยู่นาน 1 ปี จะทำให้จากไตปกติกลายเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ การรักษาควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะทำให้การเกิดโรคไตช้าลงหรือไตเสื่อมช้าลงได้ ความดันโลหิตสูงนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นสาเหตุของไตวายเรื้อรัง ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายประมาณ 30-50%

      ➢ โรคเบาหวาน : เป็นสาเหตุของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายราว ๆ 30% ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อเป็นมาราว ๆ 10-15 ปี ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ไต โดยเฉพาะที่หลอดเลือดของไต มีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ ต่อไปก็จะเกิดไตเสื่อม ไตวายเรื้อรัง และไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุดโรคเบาหวานยังมีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อไตอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะและกรวยไตอักเสบ ซึ่งถ้าเป็นบ่อย ๆ และ/หรือรุนแรง ก็มีผลทำให้ไตเสื่อม ไตวายได้

      ➢ ภูมิลำเนา : เป็นที่ทราบกันดีว่าในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จะมีผู้ป่วยเป็นโรคนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะมาก สาเหตุอาจเกี่ยวเนื่องจากอาหาร น้ำ และปัจจัยอื่น เพราะฉะนั้นคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในบริเวณนี้ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตได้

      ➢ ความอ้วน : คนอ้วนจะมีเมตาบอริซึมสูงกว่าคนปกติ เกิดของเสียต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ไตและอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายทำงานมากขึ้น ทั้งหัวใจ ปอด ความดันโลหิตสูง ไตต้องทำงานรับภาระมากขึ้น เปรียบเสมือนรถบรรทุกน้ำหนักเกิน จะมีไข่ขาวในปัสสาวะก่อน แล้วต่อมาไตจะเสื่อมหรือวายได้

      ➢ อายุ : ไตของคนปกติจะเจริญเติมที่เมื่ออายุประมาณ 2 ปีและจะเริ่มเสื่อมเมื่ออายุ 35 ปี เพราะฉะนั้นสมรรถภาพการทำงานของไตจะเสื่อมไปตามอายุ นอกจากนี้ในผู้ชายผู้สูงอายุมีโอกาสสูงที่จะเป็นต่อมลูกหมากโต อาจทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ ทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงได้ การรับประทานยา / ฉีดยาต่าง ๆ ที่มีพิษต่อไตจำเป็นต้องลดขนาดลงด้วย มิฉะนั้นก็อาจทำให้เกิดไตวายได้

      ➢ ยา / อาหาร : ยาหลายชนิด อาหารบางประเภท มีพิษต่อไต ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ต้องปรับขนาดของยาให้พอเหมาะ และหมั่นติดตามการทำงานของไตอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นกว่าจะรู้ก็ไตวายเสียแล้ว เช่น ยาแก้ข้อ-กระดูกอักเสบ (พวกเอนเสด – NSAID) เป็นต้น อาหารพิเรนทร์บางชนิด เช่น ดีงู เป็นต้น ก็ทำให้เกิดไตวายได้ นอกจากนี้ สายทึบรังสี ที่ใช้ฉีดให้ผู้ป่วยเวลาตรวจทางเอกซเรย์ ก็อาจมีผลทำให้ไตวายได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานต้องเลี่ยง ใช้สารที่ปลอดภัยมาก ๆ หรือให้น้ำอย่างเพียงพอเมื่อต้องใช้สารจำพวกนี้

      ➢ อาชีพ / อุบัติเหตุ : อาชีพบางอย่างอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตได้ เช่น นักมวย อาจถูกต่อย ถูกเตะบริเวณไตจนเกิดอันตรายได้ หรือบางคนทำงานในโรงงานซึ่งได้รับสารพิษต่อไตสะสมยาวนาน ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคไตได้ ใครที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตก็ควรป้องกันและ พยายามหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงต่าง ๆ ความเสี่ยงหลาย ๆ อย่างสามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น การให้ยา การกินอาหาร อาชีพ อุบัติเหตุ แต่ความเสี่ยงบางอย่างก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และความอ้วน แต่สามารถลดความรุนแรงได้ เช่น โรคที่เป็นกรรมพันธุ์ ก็รีบตรวจกับแพทย์เป็นระยะ ๆ เพื่อให้รู้ตั้งแต่โรคเป็นน้อย ๆ จะสามารถดูแลรักษาให้ชีวิตยืนยาวได้ รวมทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ถ้าควบคุมความดันโลหิตและเบาหวานได้ดีอย่างต่อเนื่อง โรคไตที่จะเกิดหรือจะเป็นก็จะช้าลง หรือรุนแรงน้อยลง เราสามารถเริ่มดูแลสุขภาพได้ตั้งแต่วันนี้โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

 ◉ แนวทางการป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต (รายการ Time for Health)
      ◎ หากเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมเบาหวาน และความดันโลหิต หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเซด (NSAID ย่อจาก Non-steroidal anti-inflammatory drugs) เป็นยาระงับปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ ซึ่งจะมีผลต่อกระเพาะ ทำให้เลือดออกง่าย และมีปัญหาต่อไต เมื่อทราบว่าเป็นโรคไต ต้องป้องกันไม่ให้ไตเสื่อมลงเร็วเกินปก­ติ ผู้ป่วยจำเป็นต้องควบคุมอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนให้น้อยลง เพื่อลดความเสื่อม­ของไต เน้นอาหารปลาทะเล ควบคุมอาหารที่มีฟอตเฟตสูง ส่วนใหญ่อยู่ในธัญพืช เพราะฟอตเฟตจะจับแคลเซียมเป็นผลึกไปสะสมที่หลอดเลือดทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น รวมทั้งอาหารพวกนม ถั่ว ช็อคโกแลต ลูกเนียง มะเฟือง เชอร์รี่ หญ้าไผ่ ซึ่งต้องระวังมากขึ้นในการรับประทาน ที่สำคัญต้องไม่สูบบุหรี่ เพราะมีผลต่อหลอดเลือดโดยตรง รวมถึงการลดความอ้วน เพราะมีผลกับความดันและ­ระดับน้ำตาลในเลือด

วิธีรักษาโรคไต
รักษาโรคไตให้หายขาด ได้อย่างไร
◉ วิธีดูแลตัวเองง่าย ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต
      ➤ ดื่มน้ำให้เพียงพอ
          การดื่มน้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายอย่างที่ทุกท่านทราบกันดี โดยทั่วไปควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน ขึ้นกับปริมาณน้ำที่สูญเสียไป เช่นวันที่อากาศร้อนเสียเหงื่อมากก็ควรจะดื่มน้ำมากกว่าปกติ วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าอาจดื่มน้ำไม่เพียงพอคือปัสสาวะจะมีสีเข้มกว่าปกติเนื่องจากไตพยายามเก็บน้ำอย่างเต็มที่ หากสังเกตเห็นแบบนี้แล้วควรรีบดื่มน้ำเพื่อให้ไตสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น
      ➤ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
          ในการที่เราจะดูแลให้สุขภาพไตให้ดี การกินผักผลไม้สดเพื่อเสริมสร้าง วิตามินและ ธาตุต่าง ๆ เป็นตัวเลือกที่ดี ลดการรับประทานเนื้อแดง และอาหารที่มีไขมันสูง และที่สำคัญ กินเกลือโซเดียมไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน (นับรวมเกลือที่ละลายอยู่ในอาหารและน้ำจิ้มด้วย) และน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวันเพื่อลดการสาเหตุที่จะทำให้ไตทำงานหนัก
      ➤ ตรวจเช็คความดันโลหิตให้อยู่ในค่าปกติ
          ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการเกิดโรคไต โดยส่วนมากจะไม่มีอาการจึงต้องอาศัยการตรวจวัดความดันโลหิต ซึ่งในปัจจุบันสามารถตรวจวัดได้ง่ายโดยไม่ต้องเจ็บตัว ค่าความดันโลหิตปกติโดยเฉลี่ยจะมีค่าประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากพบว่าความดันโลหิตสูงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสม
      ➤ หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดและแก้อักเสบเกินความจำเป็น
          ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบหลายชนิดจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า NSAIDs เช่น ไดโคลฟีแนค, นาโปรเซน , ไอบูโพรเฟน เป็นยาที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้อย่างดี แต่หากกินต่อเนื่องในปริมาณมากหรือกินโดยไม่จำเป็นอาจจะส่งผลเสียต่อการทำงานของไต ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตได้ลดลง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการผสมยาเหล่านี้หลายขนานรวมกันในยาชุดซึ่งอาจทำให้ได้รับยาเกินขนาดโดยไม่รู้ตัว จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาชุดโดยที่ไม่ทราบส่วนประกอบชัดเจน
      ➤ การออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
          อย่างที่ทุกท่านทราบกันอยู่ดีอยู่แล้วว่าการออกกำลังกายเป็นกิจกรรมสิ่งที่สำคัญต่อร่างกาย ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจและปอดมีประสิทธิภาพดีขึ้น การออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน ลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อโรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูงแล้ว ยังมีผลโดยตรงต่อความดันโลหิตและความดันภายในไตอีกด้วย ดังนั้นหากต้องการมีสุขภาพที่ดีจึงควรที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
เราสามารถปกป้องไตได้ด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์

◉ ดูแลบำรุงสุขภาพไต กินอะไรดี
อาหารเพื่อสุขภาพไตที่แนะนำ 
    ✔️Bio folic ✔️คลอโรฟิลล์พลัส ✔ เห็ดหลินจือ ✔ สารสกัดจากเห็ด ✔ ถั่งเช่า ✔ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ✔ น้ำมันปลา ✔ โคเอนไซม์ คิวเทน ✔ แอสตาแซนธิน
◎➢ ทางเลือกหนึ่งที่อาจลดความเสี่ยงในการเกิด โรคไต ได้...
◉ อาหารเสริมที่ช่วยดูแลสุขภาพไต 

เห็ดหลินจือสกัด
LING ZHI





โคเอนไซม์คิวเทน
แอลคาร์นิทีน-Co_Q10





สารสกัดจากเมล็ดองุ่น
Grape C-E Maxx




   เพื่อการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างถูกต้อง และทันเวลาก่อนจะเกิดการเรื้อรังของโรคต่าง ๆ

  ส่วนหนึ่งของ ผลิตภัณฑ์กิฟฟารีน
สินค้าขายดี จาก แคตตาล็อก กิฟฟารีน ทั้งหมดกว่า 2,000 รายการ
“สร้างสรรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด และถึงพร้อมด้วยคุณภาพสูงสุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยทุกคน”
อาหารเสริม&วิตามิน
เพื่อสุขภาพ



ผลิตภัณฑ์
เพื่อความงาม



เครื่องสำอาง



ของใช้ส่วนตัว



อาหารและเครื่องดื่ม



ของใช้ในครัวเรือน



Giffarine by Ongard
ช้อปเมื่อไรก็ได้ พร้อมสิทธิมากมาย
กิฟฟารีน ออนไลน์ ที่นี่...เราเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน
Richy Healthy by Giffarine Virtual Shop ร้านค้าที่คุณเริ่มลงทุนเพียง 180 บาท
GIFFARINE Online Network Business เส้นทางสู่ความสำเร็จ
รับสมัครสมาชิก กิฟฟารีน ออนไลน์
Facebook
Twitter
Email

Copyright © Richy Healthy by Giffarine Virtual Shop