Giffarine by Ongard
ช้อปเมื่อไรก็ได้ พร้อมสิทธิมากมาย
กิฟฟารีน ออนไลน์
ที่นี่...เราเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน
  โทร. 0802033222
  ไลน์ ไอดี: @giffarinevirtual.s

  0 Cart
โรคกระดูกพรุน Osteoporosis
กระดูกและข้อ - โรคข้อเข่าเสื่อม
Orthopedic - Osteoarthritis
  โรคข้อเสื่อม
  ปัญหาผู้สูงวัย!! ในการใช้ชีวิตประจำวัน
      ▶โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่พบบ่อย และสร้างปัญหาให้กับผู้สูงวัยในการใช้ชีวิตประจำวัน
      ▶โรคข้อเสื่อมเกิดจากการใช้ของอวัยวะนั้นๆ เป้นเวลานาน การใช้งานอย่างหนัก และด้วยอายุที่มากขึ้นก็เป็นตัวแปร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวข้อกระดูกเสื่อม มักเกิดร่วมกับอาการข้ออักเสบ มีการขัดหรือฝืดในข้อเป็นครั้งคราวหากมีการอยู่นิ่งเป็นเวลานาน อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมอยู่ด้วย ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการทำกิจกรรม เช่น การขึ้นลงบันได การออกกำลังกายหักโหม นั่งยองหรือนั่งแบบผิดสุขลักษณะ หากมีการอักเสบร่วมด้วยอาจจะมีอาการบวมแดง บริเวณข้อเข่า ข้อเท้า
      ▶การลดน้ำหนักและการออกกำลังกายเป็นทางเลือกหนึ่งของการป้องกัน และบรรเทาโรคข้อเสื่อม เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุด เพราะน้ำหนักเกินเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อกระดูกเสื่อม และทำให้การดำเนินโรคเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น การออกกำลังกายที่เป็นแบบแอโรบิกช่วยทำให้สามารถควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกับข้อที่รับน้ำหนักโดยตรง 
โรคข้อเสื่อม ปัญหาผู้สูงวัย!!
      ▶การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ นอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อนั้นๆ มีความแข็งแรง และช่วยผ่อนแรงกระแทกที่กระทบกับข้อโดยตรงแล้ว ยังช่วยทำให้ข้อสึกช้าลง หรือช่วยควบคุมแนวการรับน้ำหนักของข้อนั้นๆ ให้อยู่ในแนวที่ตรงขึ้น ทำให้ข้อรับน้ำหนักน้อยลง
 #วิธีลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
     ➥ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ควรดูแลร่างกายอย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรค
     ✷ เมื่อร่างกายขาดแคลเซียม ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ส่งผลให้เกิดการสลายกระดูกในระยะยาว ทำให้กระดูกเปราะ แตกหักง่าย

◉ คุณมีอาการเช่นนี้หรือไม่?
     ➣ ปวดตามข้อต่างๆ (โดยเฉพาะข้อเข่า มีอาการปวดมากเมื่อเหยียดขา หรือลุกขึ้นยืนหลังจากที่นั่ง หรืองอเข่าเป็นระยะเวลานาน)
     ➣ ได้ยินเสียงลั่น ดังกรอบแกรบในข้อ เมื่อเคลื่อนไหว
     ➣ ข้อติด ขยับข้อได้ยาก (โดยเฉพาะช่วงเวลาเช้า และหลังตื่นนอน) มีการเคลื่อนไหวข้อได้น้อย
     ➣ มีอาการปวด ข้อบวม ข้อโก่งผิดรูปร่าง
     ✱ อาการดังกล่าวบ่งบอกถึงภาวะข้อเสื่อม ซึ่งมีสาเหตุจากการที่กระดูกอ่อนบริเวณของข้อถูกทำลาย จนไม่สามารถสร้าง และซ่อมแซมได้ทัน ทำให้กระดูกอ่อนสึกกร่อน ไม่สามารถรับน้ำหนัก หรือแรงกระแทกต่างๆได้



◉ การป้องกันข้อเสื่อม
การป้องกันข้อเสื่อม วิธีเลี่ยงโอกาสเป็น โรคกระดูกพรุน
✷ วิธีเลี่ยงโอกาสเป็น #โรคกระดูกพรุน
     ➥ ลดน้ำหนัก เพื่อช่วยลดอาการตึงบริเวณข้อต่อ
     ➥ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้ข้อต่อบาดเจ็บ เช่น การวิ่ง การยกน้ำหนัก เพราะอาจทำให้ข้อต่อรับแรงกระแทก หรือรับน้ำหนักมากเกินไป
     ➥ หลีกเลี่ยงการนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ควรปรับความสูงเก้าอี้ให้เหมาะสม และขยับเปลี่ยนท่าเป็นระยะ
     ➥ ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น วิ่งเหยาะ การเดิน การปั่นจักรยาน เต้นรำ กายบริหาร การออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลาง 150 นาที ต่อสัปดาห์ หรืออย่างน้อย 30นาที/วัน 5 วันต่อสัปดาห์
     ➥ งดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มหรือจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่จะดื่ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม และงดสูบบุหรี่ เพราะเป็นพฤติกรรมเสี่ยงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
     ➥ เติมวิตามินดีให้ร่างกาย  ด้วยการรับแสงแดดยามเช้า ช่วงเวลาไม่เกิน 10.00 น. เป็นเวลา 30 นาที เพราะวิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม
     ➥ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม งาดำ ปลาตัวเล็ก กุ้งฝอย ผักใบเขียว โดยปริมาณแคลเซียมที่คนอายุต่ำกว่า 50 ปีควรได้รับคือ 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน และคนอายุ 51 ปีขึ้นไปคือ 1,000-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน  กระดูกจะเสื่อมลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น

◉ ดูแลปัญหาให้ตรงจุด เสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร...
     ✷ แคล-ดี-แมก 600 (Cal-D-Mag 600)  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แคลเซียม ผสมแมกนีเซียม, วิตามิน ซี, สังกะสี, แมงกานีส, ทองแดง, วิตามิน อี และวิตามิน ดี 3 ชนิดเม็ด ตรา กิฟฟาริน Vitamin D3 เพิ่มการดูดซึมแคลเซียม Magnesium ดูแลลึกถึงโครงสร้างกระดูก
     ✷ ซี มิน ดริ๊งค์  เครื่องดื่มน้ำสตรอเบอร์รี่ 30% ผสมแคลเซียมจากสาหร่ายสีแดง และวิตามินดี 3 (ตรากิฟฟารีน) เปี่ยมด้วยคุณค่าของแคลเซียมและแร่ธาตุที่สกัดจากสาหร่ายทะเลสีแดงพันธุ์ เสริมคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มการดูดซึมแคลเซียม ด้วยวิตามินดี 3 สารสกัดจากสาหร่ายทะเลสีแดง ดูแลกระดูกให้แข็งแรง
     ✷ เซซามิ-เอส  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดจากงาดำ ผสมข้าวกล้องหอมนิลงอก วิตามินซี และซีลีเนียม ชนิดแคปซูล (ตรา กิฟฟารีน) งาดำ บำรุงน้ำไขข้อ ลดการอักเสบ
     นอกจากนี้ยังมี  ✷ ยูซี-ทู (UC-II)  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คอลลาเจน ไทพ์-ทู ผสมวิตามินซี ชนิดแคปซูล (ตรา กิฟฟารีน) ลดการสึกหรอของกระดูกอ่อน
และอาหารเพื่อสุขภาพโรคกระดูกพรุน ข้อเสื่อม เพิ่มเติมอื่นๆอีกที่ด้านล่างนี้...

◉ กระดูกและข้อ - โรคข้อเข่าเสื่อม (Orthopedic - Osteoarthritis)
          ◎ กระดูกจะเสื่อมลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น และมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดวิธี รวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็มีส่วนทำให้กระดูกเกิดความผิดปกติได้
          ◎ Orthopedic ปัญหาสุขภาพด้านกระดูก และข้อทุกประเภท ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เอ็น และเส้นประสาทที่มีความซับซ้อนในผู้ป่วยทุกช่วงอายุ เช่น อาการปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดขา โรคกระดูกเสื่อม การรักษาโรคข้ออักเสบเรื้อรัง โรคข้อเสื่อมจากวัยชรา โรคที่เกิดจากการทำงานหรือที่เรียกว่าออฟฟิศซินโดรม
          ◎ Osteoarthritis โรคข้อเสื่อม กระดูกสันหลัง กระดูกคอ กระดูกสะโพกเสื่อม หมอนรองกระดูกเสื่อม  เข่าเสื่อม กระดูกบาง กระดูกทรุด เป็นความผิดปกติของข้อ เป็นอาการที่กระดูกอ่อน (Cartilage) ในข้อต่อกระดูกเสื่อมสภาพจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุ การใช้งาน เป็นต้น โดยเฉพาะข้อเข่าเสื่อม การเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน ส่งผลให้กระดูกเสียดสีกันหรือเกิดแรงกดมากขึ้น จนทำให้เจ็บบริเวณข้อต่อและขยับข้อต่อลำบาก หากไม่รีบรักษา อาการอาจรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยทั่วไปแล้ว Osteoarthritis มักเกิดบริเวณข้อนิ้วมือ เข่า สะโพก กระดูกสันหลัง และเกิดขึ้นได้กับทุกคน ที่พบได้บ่อยในช่วงเข้าสู่วัยกลางคน และพบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น พบในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 50 ปี

◉ สาเหตุของข้อเสื่อม
➤ สาเหตุเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ทำให้เกิดความไม่สมดุลในการสร้าง การทำลาย และการซ่อมแซมภายในข้อ ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อ (Cartilage) ถูกทำลายอย่างช้าๆ เป็นผลให้กระดูกอ่อนผิวข้อสึกกร่อน
     ✱ กระดูกอ่อนผิวข้อ มีคอลลาเจนไทพ์-ทู เป็นส่วนประกอบหลัก ขณะที่ผิวหนังจะเป็นไทพ์-วัน
     ✱ คอลลาเจนไม่ได้คงอยู่ตลอดไป แต่จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
     ✱ เมื่ออายุเข้าสู่วัย 30 ปี อัตราการสร้างจะลดลงร้อยละ 1.5 ในทุก ๆ ปี และเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เป็นผลให้เกิดปัญหาข้อเสื่อม ปวดข้อ
➤ Osteoarthritis เกิดจากเนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อกระดูกหรือกระดูกอ่อนบางลง ชำรุด และสึกหรอ ทำให้ไม่สามารถลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกได้เท่าเดิม จนเกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น หากกระดูกอ่อนเสื่อมสภาพลงมาก จนทำให้กระดูกเสียดสีกันโดยตรง ผู้ป่วยอาจมีกระดูกงอก (Bone Spurs) ขึ้นมาบริเวณข้อต่อนั้นด้วย
➤ โดยปกติ เมื่อกระดูกอ่อนชำรุดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ร่างกายจะมีกลไกซ่อมแซมและรักษาด้วยตนเอง แม้ยังไม่สามารถระบุได้ถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ Osteoarthritis อาจเกิดจากความผิดพลาดของกระบวนการซ่อมแซมในร่างกาย หรืออาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
     ➣ อายุ ประสิทธิภาพการซ่อมแซมกระดูกข้อต่อที่สึกหรอ และการส่งเลือดไปเลี้ยงข้ออาจลดลงตามอายุ
     ➣ โรคอ้วน ผู้ป่วยโรคอ้วนมักเผชิญอาการ Osteoarthritis บริเวณเข่าและสะโพก เพราะข้อต่ออาจรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายมากขึ้น
     ➣ เพศ ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็น Osteoarthritis มากกว่าผู้ชาย
     ➣ พันธุกรรม Osteoarthritis อาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้
     ➣ เคยได้รับบาดเจ็บหรือเกิดความเสียหายบริเวณข้อต่อ เช่น เคยกระดูกหักบริเวณใกล้ ๆ ข้อต่อ เคยป่วยเป็นข้อต่อติดเชื้อ หรือเคยได้รับบาดเจ็บบริเวณเอ็น ซึ่งอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของข้อต่อ
     ➣ ใช้งานข้อต่อหนักเกินไป อาจพบในกลุ่มนักกีฬา ผู้ที่ต้องยกของหนัก หรือผู้ที่ต้องทำงานด้วยการใช้สว่านลม

◉ ภาวะแทรกซ้อนของข้อเสื่อม
อาการของ Osteoarthritis อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้น หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา การขยับท่าทางหรือการเคลื่อนไหวร่างกายจะถูกจำกัดลง ทำให้ขาดอิสระในการใช้ชีวิต หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันยากลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ ภาวะแทรกซ้อนของ Osteoarthritis อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อต่อที่มีอาการ และความรุนแรงของอาการด้วย

◎ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
 ➣ มีอาการปวดเรื้อรัง ➣ เสียการทรงตัว  ➣ เสี่ยงต่อการหกล้ม ➣ ภาวะขาดเนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อ เพราะกระดูกอ่อนเสื่อมสภาพ หรือสลายตัวเร็วเกินไป ➣ เส้นเอ็นและเอ็นยึดข้อต่อขาดความเสถียร ➣ เลือดออกภายในข้อต่อ ➣ ข้อต่อติดเชื้อ ➣ กระดูกหักล้า ➣ กระดูกตายจากการขาดเลือด ➣ เส้นประสาทถูกกดทับ (เกิดขึ้นใน Osteoarthritis บริเวณกระดูกสันหลัง) ➣ กล้ามเนื้ออ่อนแรง มักเกิดขึ้นเมื่อข้อต่อเจ็บปวดจนไม่สามารถใช้งานได้ (โดยเฉพาะข้อเข่า) ➣ ข้อต่อผิดรูป (ปุ่มกระดูกเล็ก ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อกระดูก 2 ชิ้นมาบรรจบกัน)
◉ โรคข้อเสื่อม กินอะไรดี
◉ อาหารเพื่อสุขภาพโรคกระดูกพรุน ข้อเสื่อม
 ดูแลปัญหาให้ตรงจุด เสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร...
     ✔ น้ำมันปลา ✔ แคลเซียม ✔ ผงเยื่อหุ้มเปลือกไข่ ✔ อันดีเนเจอร์ คอลลาเจน ✔ คอลลาเจน ✔ แคลเซียม และแร่ธาตุ 72 ชนิด จากสาหร่ายทะเลสีแดง ✔ งาดำ ✔ เถาวัลย์เปรียง ✔ น้ำมันพริมโรส ✔ ขิง ✔ ขมิ้นชัน ✔ สารสกัดจากชาเขียว อีจีซีจี ✔ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น
◎➢ ทางเลือกหนึ่งที่อาจลดความเสี่ยงในการเกิดโรคข้อเสื่อม Osteoarthritis ได้...
อาหารเพื่อสุขภาพแนะนำ 

แคลเซียม-แมกนีเซียม
Cal-D- Mag 600





Fish Oil 1000 
 น้ำมันปลา





คอลลาเจน Type II
UC-II GOLD




   เพื่อการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างถูกต้อง และทันเวลาก่อนจะเกิดการเรื้อรังของโรคต่าง ๆ

  ส่วนหนึ่งของ ผลิตภัณฑ์กิฟฟารีน
สินค้าขายดี จาก แคตตาล็อก กิฟฟารีน ทั้งหมดกว่า 2,000 รายการ
“สร้างสรรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด และถึงพร้อมด้วยคุณภาพสูงสุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยทุกคน”
อาหารเสริม&วิตามิน
เพื่อสุขภาพ



ผลิตภัณฑ์
เพื่อความงาม



เครื่องสำอาง



ของใช้ส่วนตัว



อาหารและเครื่องดื่ม



ของใช้ในครัวเรือน



Giffarine by Ongard
ช้อปเมื่อไรก็ได้ พร้อมสิทธิมากมาย
กิฟฟารีน ออนไลน์ ที่นี่...เราเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน
Richy Healthy by Giffarine Virtual Shop ร้านค้าที่คุณเริ่มลงทุนเพียง 180 บาท
GIFFARINE Online Network Business เส้นทางสู่ความสำเร็จ
รับสมัครสมาชิก กิฟฟารีน ออนไลน์
Facebook
Twitter
Email

Copyright © Richy Healthy by Giffarine Virtual Shop